August 23, 2010

Teerapon Hosanga (2)

(for Thai please scroll down)

Teerapon Hosanga:
Human beings live in a baffling world. They need to understand their surroundings, fellow beings, the world and the universe. To answer the question 'Where are we from?' and 'Why are we here?' we apply science, mathematics and logic, based on empirical evidence from observing our environment, or else we create mystifying rituals to make sense of the patterns and processes of nature.

For instance, an object is composed of many substances that can be divided into smaller elements down to the molecular level, which can in turn be classified into three different states - solid, liquid and gas. Another example of our discoveries it that the Earth and the Universe are not only in flux, but their energy and structure als always expanding within complex strutures and systems such as gravitational and magnetic fields. Based on these discoveries, humans continue to explore and search for answers to better predict the patterns of nature. Yet many mysteries remain.

The discoveries of ancient civilisations have had a great influence on human life - mathematical and geometric theorems are the foundation of architecture, giving birth to some of the most awe-inspiring structures in the world, including the Pyramids and the Parthenon. But geometry has also been used to represent the perfection of God in some religions, for instance the geometric patterns of Islamic mural painting and the linear perspective of the European Renaissance.

These examples show that human knowledge and imagination can be conceptualized in tangible objects and can convey messages about the attitudes, beliefs and aesthetics of each creator's area.

In this exhibition, I use mathematics and geometry to describe abstract structures which unfold in the spherical shapes found in objects and natural phenomena. They are often difficult to describe and intangible, and my objective is to conceptualise these intangible aspects. I experiment with the process of creating sculpture in the form of collecting multiple new stereometric layers, reflecting my perception and understanding of those objects and phenomena, as well as of the aesthetics of dynamic movement that occurs in the creation of nature.

มนุษย์พบว่าตนเองอยู่ในโลกอันน่าพิศวง จึงเกิดความต้องการหยั่งรู้ในสิ่งที่พบเห็นรอบๆตัวมากขึ้น มนุษย์มาจากใหนและมีสถานะอะไรอยู่ในโลก โลกและจักรวาลเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ในความพยายามหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ มนุษย์ใช้ทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หลักเหตุผลรวมทั้งหลักฐานจากการสังเกตการณ์วัตถุและปรากฏการณ์รอบตัว หรือกระทั้งการพยายามเข้าในธรรมชาติด้วยพิธีกรรมอันลี้ลับต่างๆ จนสามารถเข้าใจหรืออธิบายแบบแผนของสิ่งที่จะเกิดขึ้นตรงหน้าได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล


เช่น วัตถุประกอบขึ้นจากสสารที่สามารถแบ่งให้เล็กลงไปได้เรื่อยๆจนถึงระดับโมเลกุล และจะสามารถบ่งชี้รูปแบบของสสารนั้นๆได้ด้วยการสังเกตสถานะของสสาร ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือความรู้ที่ว่าโลกและจักวาลนั้นไม่หยุดนิ่งอีกทั้งกำลังขยายตัวเป็นโครงข่ายที่ซับซ้อนด้วยพลังงานที่มองไม่เห็นแต่รับรู้ได้ เช่น แรงดึงดูด แรงโน้มถ่วง และพลังงานแม่เหล็ก ผลที่ตามมาคือ มนุษย์มีเป้าหมายสูงสุดเป็นการค้นหากฏที่สามารถทำนายและอธิบายเหตุการณ์ไห้กระจ่างแม่นยำยิ่งๆขึ้นไป แต่ปริศนาต่างๆก็ยังคงหลงเหลืออยู่

อย่างไรก็ตามมนุษย์ก็ได้รับประโยชน์จากขั้นตอนการสั่งสมความรู้มาตั้งแต่ครั้งอดีต เช่นการได้ประโยชน์จากการหาความรู้คณิตศาสตร์และเรขาคณิตช่วยในการออกแบบสถาปัตยกรรมอย่าง พีรมิต วิหารพาเธนอน หรือการใช้ความรู้ทางเรขาคณิตในการอธิบายรวมทั้งแสดงภาวะความสมบรูณ์อันไร้ขอบเขตของพระเจ้าและตำแหน่งมุมมองของมนุษย์ที่เข้าถึงได้ด้วยเรขาคณิตเท่านั้น เช่น ลวดลายเรขาคณิตในศิลปะอิสลาม ศิลปะที่ใช้หลักการทัศนียวิทยาและความรู้เรขาคณิตจากอารยธรรมโบราณของศิลปะยุคฟื้นฟูวิทยาการยุโรป ตัวอย่างที่ข้าพเจ้ายกมาข้างต้นอาจสามารถสรุปได้ว่าความรู้ ความคิดและจินตนาการของมนุษย์สามารถทำให้ปรากฏสู่โลกของวัตถุจับต้องได้ ทั้งยังสามารถสื่อทัศนคติและอุดมคติความงามของยุคสมัยของผู้สร้างสรรค์อีกด้วย

ศิลปินจึงพยายามนำหลักการคณิตศาสตร์และเรขาคณิตมาใช้อธิบายความเข้าใจของเขาต่อโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นโครงข่ายย่อยซึ่งพบได้ในรูปแบบพื้นฐานของวัตถุและปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งมองเห็นและจับต้องได้ยาก ให้ออกมาในรูปวัตถุที่จับต้องได้เข้าใจได้ ด้วยกระบวนการทางประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นโครงข่ายย่อย อันเกิดจากการซ้ำกันของรูปทางเรขาคณิต เพื่อแสดงผลสะท้อนการรับรู้และความเข้าใจในเชิงลึกของศิลปินต่อวัตถุและปรากฏการณ์เหล่านั้น ทั้งยังแสดงภาวะความงามของรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัตถุและปรากฏการณ์ธรรมชาติผ่านความเข้าใจของมนุษย์ด้วยงานประติมากรรม