October 18, 2010

Preechaya Siripanich (3)

Preechaya Siripanich  ปรีชญา ศิริพานิช :
SECOND CLASS, 2010
Bangkok Art and Culture Centre (BACC),
Sept. 14 - Nov. 7, 2010
Exhibition Return Ticket: Thailand-Germany
Curated by Axel Feuss

Photos: Dow Wasiksiri




Second Class, 2010
Sculptural object and installation, mixed media
Variable size, site-specific

ชั้นที่สอง 2553
งานประติมากรรมการจัดวาง วัสดุสื่อผสม
แปรผันตามพื้นที่
งานศิลปะแบบเจาะจงพื้นที่

Second Class, 2010
Objekt und Installation
Größe ortsspezifisch

Preechaya Siripanich has been living in Bremen since his time as a student, and further as a freelance artist in Germany. He became widely known through his installation Samui (2008), in which he combined stereotypical symbols of wanderlust, coconut trees, a suitcase and a guitar, with an oppressively sterile and absurd stage space. He isolates everyday objects and superimposes them with new levels of subjective perception. As a large part of his work he occupies himself with architectonic concepts and scenery architecture installations, in which he reduces the human reality to psycho-social components such as home, consumption, social coldness, familiarity and strangeness, security and forlornness. In his installation Second Class he transforms a building element of the exhibition space, a ramp that leads to a half round balcony, with temporary architecture. It refers to those make-shift constructions that the poorer classes of Thailand use to blend into the city landscape. They serve as momentary or lasting accommodation, can quickly be transformed into a stall or a cookshop and symbolize the social reality of broad segments of the inhabitants.

ปรีชญา ศิริพานิช ใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองเบรเมน เยอรมนี มาตั้งแต่สมัยเขามาเป็นนักศึกษา จนกระทั่งกลายมาเป็นศิลปินอิสระ ผลงานที่ได้รับการยอมรับ และสร้างชื่อเสียงให้แก่เขาก็คือ ผลงานประติมากรรมแนวจัดวางชื่อ „สมุย“ ในผลงานนี้เขาได้ใช้สัญลักษณ์ เรียบง่าย และมีความหมายตรงตัว ไม่ว่าจะเป็น ต้นมะพร้าว กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าใส่กีตาร์ และ การสร้างประติมากรรมเสมือนฉากขึ้นข้างหลังตัววัตถุต่างๆ ที่ค่อนข้างแปลกพิสดาร ทั้งหมดนี้ เพื่อบอกเล่าถึงความปรารถนาอยากจะเดินทางไปให้ไกล โดยเลือกวัตถุสิ่งของในชีวิตประจำวันขึ้นมา แล้วเปลี่ยนหน้าที่กับความหมายให้มันใหม่ ด้วยการประกอบเป็นฉาก และการจัดวางภาพรวมขึ้นในตัวงาน เพื่อจะเปลี่ยนจากความหมายเดิม ไปสู่กระบวนการแปรการรับรู้ในเชิงจิตวิสัย และ การตีความหมายใหม่ในขั้นต่อไป ผลงานของเขาเกี่ยวโยงกับแบบความคิดทางโครงสร้างสถาปัตยกรรม การสร้างฉากและงานจัดวางเชิงสถาปัตย์ เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวพันกับ วิถีของสังคมเมือง และสังคมจิตวิทยา ทั้งในเรื่องของความเย็นชาของสังคม สังคม-บริโภค ความไว้วางใจกับความแปลกแยก สิ่งคุ้นเคยกับสิ่งที่ขาดหาย ในผลงานชื่อ „ชั้นที่สอง“ เขาได้สร้างสิ่งก่อสร้างคร่อมเข้ากับตัวสถาปัตยกรรมภายในอาคาร ที่อยู่ระหว่างห้องครึ่งวงกลม ไปสู่ทางเดินลาดลงสู่พื้น ของห้องแสดงงาน ตัวโครงสร้างแบบชั่วคราว หรือเฉพาะเจาะจงสร้างบนพื้นที่ตรงนี้ ประกอบด้วยตัวหลังคา ฝาผนัง และ วัตถุจำนวนหนึ่ง โครงสร้างนี้ สะท้อนถึงสภาพที่พักอาศัยชั่วคราวหรือถาวร และการอยู่ร่วมกันของคนยากจนในตัวเมือง ท่ามกลางสภาพแวดล้อม เช่น ร้านค้าริมถนน หรือ ร้านอาหารข้างทาง ที่แสดงเป็นนัยถึง ชนชั้น-สังคม - ราษฏร ซึ่งมีอยู่จริงในสังคมไทย

Preechaya Siripanich lebt auch nach seinem Studium in Bremen weiterhin als freischaffender Künstler in Deutschland. Weithin bekannt wurde er durch seine Installation Samui (2008), in der er stereotype Symbole des Fernwehs, Kokospalmen, Koffer, Gitarre, zu einem beklemmend sterilen und absurden Bühnenraum kombinierte. Er isoliert Alltagsgegenstände und überlagert sie mit neuen subjektiven Wahrnehmungsebenen. In einem großen Teil seines Werks beschäftigt er sich mit architektonischen Denkmodellen und kulissenartigen Architektur-Installationen, in denen er die menschliche Lebenswirklichkeit auf psychisch-soziale Komponenten wie Heimat, Konsum, soziale Kälte, Vertrautheit und Fremde, Geborgenheit und Verlorenheit reduziert. In seiner Installation Second Class überformt er ein Bauelement des Ausstellungsraums, eine auf einen halbrunden Balkon führende Rampe, mit einer temporären Architektur. Sie bezieht sich auf jene provisorischen Bauten, mit denen sich die ärmeren Schichten Thailands in den Stadtraum integrieren. Sie dienen als vorübergehende oder dauerhafte Unterkünfte, können schnell zu einem Verkaufsstand oder einer Garküche umgebaut werden und sind ein Kennzeichen für die soziale Realität weiter Bevölkerungsteile.