November 17, 2011

Sound Art I

Axel Feuss:
SOUND ART I

 
























in: Fine Art Magazine, Vol. 8, No. 84, Chiang Mai/Bangkok,
October 2011, p. 30-37
(for German please scroll down)

Sound Art I (ซาวด์อาร์ต 1)

Text: Dr. Axel Feuss, แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ

กอร์ดอน โมนาฮัน (Gordon Monahan) เกิดในปี ค.ศ. 1956 ที่เมืองคิงส์ตัน (Kingston) แห่งประเทศแคนาดา คือ ศิลปินผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในวงการซาวนด์อาร์ตระดับนานาชาติ เขาเคยกล่าวปราศัยในวันเปิดนิทรรศการศิลปะการแสดงสด (Performance Art) ณ กรุงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 2005 ว่า "There’s something I’ve been meaning to get off my chest - new sounds - new this, new that. Everyone’s talking about Oh, this person’s doing something new, that’s never been done before. Like, you go to these museums, you know? And, when did it start? About ten years ago they discovered sound art? Uh, sound art has been around for at least fifty years, and yet, now they’ve discovered something new. So you go to these contemporary art museums, and you walk in, and there’s some new artist doing sound art, so there’s a speaker in the middle of the room, you know, and there are jelly beans bouncing up and down in the speaker, and this is supposed to be new?" (1)

โมนาฮัน เริ่มเป็นนักดนตรีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 ถึง ค.ศ. 1973 โดยเล่นดนตรีแนวร็อคให้กับวงดนตรีต่างๆ ในกรุงออตตาวา (Ottawa) แห่งประเทศแคนาดา จากค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1976 เขาได้เข้าศึกษาทางด้านฟิสิกส์ และจาก ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1989 ศึกษาทางด้านเปียโน และการแต่งเพลงจากมหาวิทยาลัยเมานท์เอลิสัน (Mount Allison University) แห่งเมืองแซกวิลล์ (Sackville) ณ รัฐนิว บรันสวิก (New Brunswick) ตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นต้นมาเขาจึงสร้างสรรค์ผลงานประเภทจัดวางด้วยสื่อผสมระหว่าง "เสียง" (sound) และ "การแสดงสด" (performance) อาทิเช่น ผลงาน "Speaker Swinging" สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1981 อันเป็นศิลปะเสียงในรูปแบบจัดวางที่ใช้ลำโพงแขวนแกว่งรอบการแสดงสด และทำให้เกิดเสียงก้องสะท้อนเชิง 3 มิติ (เสียงที่มีความลึก)ในห้องแสดงสดนั้น นอกจากนั้นเขายังสร้างสรรค์ผลงานวีดิทัศน์ศิลป์และออกแบบผลงานประติมากรรมที่มีกลไกเชิงจลนศิลป์ (Kinetic Art) เพื่อเป็นองค์ประกอบทำงานประสานกับเครื่องดนตรีเปียนโน จนในที่สุดจากปี ค.ศ. 1981 ถึง ค.ศ. 1983 เขาก็ศึกษาด้านดนตรีกับนักประพันธ์ดนตรีหัวก้าวหน้า จอห์น เคจ (John Cage) ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา นอกจากเขาจะมีที่พำนักอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศแคนาดาแล้ว เขาก็ยังมีที่พำนักอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลินเช่นกัน รวมทั้งรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการจัดกิจกรรมเทศกาล Electric Eclectics สำหรับกลุ่มศิลปินทดลองเสียงดนตรีและซาวด์อาร์ต (Sound art) ที่จัดขึ้นในหน้าร้อนของทุกๆ ปีที่เมืองเมฟอร์ด (Meaford) แห่งรัฐออนแทริโอ (Ontario) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ที่พักอาศัยของโมนาฮาน (2)

Gordon Monahan: Piano Airlift, 1988/2006, ภาพนิ่งในรูปแบบวีดิทัศน์ (Video Still), จัดแสดงครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 ณ หอศิลป์ แห่งเมืองเครมส์ (Krems) ประเทศออสเตรีย (Austria)

ในปึ ค.ศ. 1988 เนื่องจากการจัดสัมมนาเกี่ยวกับศิลปะแห่งเสียง (Sound Art Symposium) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเซ็นต์จอห์น (St. John‘s) แห่งเกาะนิวฟันด์แลนด์ (Newfoundland) ในกิจกรรมนี้ ศิลปินได้จัดให้มีการขนส่งเครื่องเปียโนขึ้นสู่ยอดเนินเขา Gibbet ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือ เพื่อเตรียมไว้เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้สายตีเปียโนขนาดยาวที่ถูกขึงไว้บนผาหินมีเสียงดังขึ้น และเมื่อมีลมพัด ความเคลื่อนไหวของลมที่โชยผ่านกระทบสายดีดเปียโนก็จะทำให้เกิดเสียงดังขึ้น อันเป็นวิธีการเดียวกันกับพิณเอโอเลียน (Aeolian harp) ที่ชาวกรีกโบราณรู้จักใช้มานานแล้ว ในที่นี้การขนส่งเครื่องดนตรีกลางอากาศก็คือการแสดงสด (Performance) หลังจากนั้นต่อมาเพียงสองอาทิตย์ก็มีการรื้อถอนผลงานจัดวางนั้น ซึ่งในระหว่างขนย้ายเครื่องดนตรีก็มีการทิ้งเปียโนจากผาสูงสู่พื้นดินจนแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และจัดให้เป็นศิลปะการแสดง (Performance Art) ด้วยเช่นกัน จากนั้นศิลปินก็นำเหตุการณ์การแสดงสดเหล่านั้นมาจัดวางเป็นผลงาน "Piano Airlift" (ค.ศ.1988/2006) ในปี ค.ศ.2006 ณ หอศิลป์แห่งเครมส์ (Kunsthalle Krems) ประเทศออสเตรีย โดยใช้ภาพวีดิทัศน์ที่แสดงกิจกรรมนี้จากปี ค.ศ.1988 นำมาจัดวางร่วมกับเปียโนอิเล็กทรอนิกส์ที่เล่นดนตรีได้อัตโนมัติ (MIDI-player Piano) (3) อันเป็นเสียงดนตรีที่โมนาฮานเรียบเรียงขึ้นเอง และใช้เป็นองค์ประกอบแก่ผลงานวีดิทัศน์ ซึ่งปกติยังไร้เสียงอยู่ (4)

Gordon Monahan: Piano Airlift, ค.ศ. 1988/2007 ผลงานจัดวางด้วยเปียโนอิเล็กทรอนิกส์และวีดิทัศน์ศิลป์ ในนิทรรศการ พื้นที่แห่งเสียงในเฟลนส์เบอร์ก (Klangraum Flensburg) ณ พิพิธภัณฑ์เบอร์ก (Museumsberg) แห่งเมืองเฟลนส์เบอร์ก (Flensburg) ในปี ค.ศ. 2007 ประเทศเยอรมนี

ซาวด์อาร์ต (Sound art) เพิ่งจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นผลงานศิลปะประเภทหนึ่งในทศ วรรษที่ 1980 นี้เอง ถึงแม้ว่าในเวลานั้นจะยังไม่มีนิยามสำหรับบ่งบอกลักษณะของศิลปะรูปแบบนี้ก็ตาม แต่ก็มีการจัดเทศกาลสำหรับศิลปะเสียงในรูปแบบใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยามให้ว่าเป็นเพลงคลาสสิกแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 (20th-century classical music) (5) เทศกาลดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1970 ณ ใจกลางกรุงนิวยอร์คที่ "The Kitchen" (6) อันเป็นศูนย์กลางสำหรับแสดงศิลปะประเภททดลองแห่งกรุงนิวยอร์ค ซึ่งใช้สโลแกนว่า "New Music, New York" ผลงานที่แสดงในงานมหกรรมนี้นอกจากจะมีการนำเสนอดนตรีประเภทคลาสสิกเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีผู้นำผลงานประเภทซาวด์เพอร์ฟอร์มานซ์ (Sound Performance) มาแสดงในมหกรรมนี้อีกเป็นจำนวนมาก อันจะเห็นได้จากผลงานของ Garret List, Gordon Mumma, Pauline Oliveros, Charlie Morrow, Tony Conrad และ Charlemagne Palestine ซึ่งปัจจุบันถูกจัดให้อยู่ในระดับผลงานประเภทซาวด์อาร์ต (7) และภายในปีเดียวกันก็ปรากฏนิทรรศการภายใต้ชื่อ "Sound" ณ สถาบันศิลปะร่วมสมัย (Institute of Contemporary Art) แห่งเมืองลอสแอนเจ ลิสเป็นครั้งแรก ในนิทรรศการนี้ ได้มีการแสดงผลงานประเภทศิลปะเสียงจัดวาง (Sound installation) ผลงานในรูปแบบจัดวาง “พื้นที่ที่เต็มไปด้วยคลื่นเสียง” (Acoustical Tuned Spaces) และผลงานประติ มากรรมเสียง (Sound sculpture) รวมทั้งผลงานที่ใช้เครื่องดนตรีที่พัฒนาขึ้นใหม่ และต่อมาในปี ค.ศ. 1983 มีการจัดสัมมนาเรื่องเสียง (Sound symposium) ณ เมืองเซนต์จอห์น (St. John's) ในประเทศนิวฟันด์แลนต์ (Newfoundland) และหนึ่งปีให้หลัง ซาวด์อาร์ตจึงเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่คนทั่วไป เนื่องจากมีการจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบเดียวกันและใช้ชื่อนิทรรศการเดียวกันที่ศูนย์ประติมากรรมแห่งนิวยอร์ค (Sculpture Center New York) ในปีค.ศ. 1984 อีกครั้งหนึ่ง โดยมีนักแต่งดนตรีชาวอเมริกัน วิลเลี่ยม เฮลเลอร์แมนน์ (William Hellermann) ทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์

คำว่า "Klangkunst" ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศเยอรมนีนั้นแปลมาจากภาษาอังกฤษ "Sound art" โดยตรง ส่วนชาวฝรั่งเศสและชาวสเปนเรียกผลงานชนิดนี้ว่า "Art sonore" และ "Arte sonoro" แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปมักจะใช้ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ "Sound art" โดยใช้ตัวอักษรของแต่ละภาษาเขียน ซึ่งความหมายที่แท้จริงของซาวด์อาร์ตก็คือ ผลงานศิลปะสมัยใหม่ที่มีทั้งในรูปแบบศิลปะเชิงวัตถุ ผลงานประติมากรรม ผลงานการจัดวาง วีดิทัศน์ศิลป์ ศิลปะคอมพิวเตอร์ และศิลปะการแสดงกิจกรรมหรือการแสดงสด อันเป็นผลงานที่ผู้ชมใช้ทั้งประสาทตาและประสาทหูสัมผัสร่วมกัน และนั่นย่อมหมายถึงทั้ง "ฟัง" และ "ดู" ประสานกัน ซาวด์อาร์ตจึงเป็นผลงานศิลปะที่ใช้เสียงทำหน้าที่เป็นวัตถุ อันนำมาประกอบ ตัดต่อหรือประสานกันให้เกิดภาพ เช่นเดียวกับการใช้วัสดุต่างๆ ให้เป็นสื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะประเภทอื่นๆ

"เสียง" เท่ากับเป็นส่วนหนึ่งของผลงานศิลปะ ซึ่งอาจจะใช้เสียงของมนุษย์ เช่นเสียงที่ตัดต่อมาจากการพูดของมนุษย์ หรือจากเครื่องดนตรี รวมทั้งเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเสียงจากชีวิตประจำวัน เช่น เสียงจากเครื่องจักร จากวัสดุต่างๆ หรือเสียงที่เกิดจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเสียงเป็นจังหวะที่สร้างขึ้นจากเครื่องดนตรี เครื่องมือหรือเครื่องกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะใช้ระบบเครื่องยนต์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม ส่วนพื้นที่ที่ใช้“วัตถุเสียง”เป็นองค์ประกอบจัดวาง ซึ่งผู้ชมสามารถเดินเข้าชมภายในผลงานได้ และไม่ว่าจะจัดวางในเคหะสถาน ตามท้องถนนหรือสวนสาธารณะก็ตาม ก็มักจะเรียกพื้นที่ที่จัดวางเสียงว่า "ซาวด์สเปส" (Sound space) เช่นเดียวกับผลงานสร้างสรรค์แบบใหม่ที่แม้ส่วนใหญ่จะมีรูปลักษณ์เชิงผลงานประติมากรรม แต่เมื่อใช้เครื่องยนต์หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ผู้ชมเล่นดนตรีหรือแสดงบรรเทิงสดด้วยเสียง ผลงานเหล่านี้ก็จัดได้ว่าเป็นซาวด์อาร์ต แต่จะเป็นซาวด์อาร์ตประเภท ซาวด์เพอร์ฟอร์แมนซ์ (Sound Performance) หรือ ซาวด์คอนเสิร์ต (Sound concert) ก็ย่อมได้

ซาวด์อาร์ตถูกจัดให้อยู่ในสาขาทัศนศิลป์ และมักแสดงผลงานในรูปแบบนิทรรศการเช่นเดียวกับการแสดงผลงานทัศนศิลป์ หรือในรูปแบบมหกรรมดนตรี (festival) เพื่อมวลชนสามารถ "ชม" และ "ฟัง" ผลงานทดลองชิ้นใหม่ล่าสุด

ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 ผลงานซาวด์อาร์ตก็ปรากฏทั่วไป ทั้งในประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันและประเทศส่วนกลางของทวีปยุโรป ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นผลงานที่มาจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆทั้งด้านเสียงและด้านภาพ ซึ่งนอกจากพวกเขาจัดแสดงคอนเสิร์ตและนิทรรศการในรูปแบบประติมากรรมเสียงและเชิงจัดวางแล้ว พวกเขาเหล่านี้ยังคอยพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นในปี ค.ศ. 1985 หอศิลป์แห่งเมืองเวือร์ซบูร์ก (Städtische Galerie Würzburg)ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานซาวด์อาร์ตภายใต้ชื่อ "ประติมากรรมเสียง 85" (Klangskulpturen ‘85) พร้อมทั้งในปี ค.ศ. 1985, 1986 และ 1987 มีการจัดสัมมนาเรื่องออดิโออาร์ต (Audio-Art Symposium) ตามเมืองต่างๆคือ เมืองสตุทท์การ์ท (Stuttgart) ประเทศเยอรมนี, ฮาสเซล (Hassel) ประเทศเบลเยียม และลินซ์ (Linz) ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีการจัดเทศกาล "Ars Electronica" ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นประจำทุกปี และในปี ค.ศ. 1987 ก็มีการจัดเทศกาลนี้อีกครั้งภายใต้ชื่อ "เสียงแห่งอิสระ" ในปี ค.ศ. 1990 ได้มีการเปิดงานมหกรรม "Donaueschingen Festival" ที่เก่าแก่และมีชื่อที่สุดในโลก ซึ่งจัดขึ้นสำหรับผลงานคีตศิลป์ร่วมสมัย ซึ่งรวมทั้งผลงานประติมากรรมเสียง (Sound sculpture) และศิลปะจัดวางเสียง (Sound installation) ของ Rolf Julius, Takehisa Kosugi, Christina Kubisch, Bill Fontana และ Sabine Schäfer. ในปี ค.ศ. 1994 งานเทศกาล "Multiple Sounds" จัดที่เมือง Maastricht อันเป็นเมืองสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ และงานมหกรรมในประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งในปี ค.ศ. 1995 มีการจัดงานเทศกาล "SoundArt '95" ณ เมืองฮันโนเวอร์ (Hannover) ประเทศเยอรมนี (Germany)

ในประเทศเยอรมนี ซาวด์อาร์ตเพิ่งจะได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ซึ่งมีผู้ชมสนใจติดตามดูนิทรรศการสำคัญๆอย่างไม่ขาดสาย ประกอบกับมีการก่อตั้งแกลเลอรี่และพิพิธภัณฑ์หลายแห่งเพื่อเสนอผลงานเหล่านี้โดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีการตั้งรางวัลและจัดประกวดผลงาน พร้อมทั้งสนับสนุนทางด้านการศึกษาอย่างเป็นทางการ โดยเปิดภาควิชาสำหรับศึกษาศิลปะประเภทนี้ตามสถาบันศึกษาต่างๆ ในปี ค.ศ.1996 Helga de la Motte-Haber นักวิชาการทางคีตศาสตร์และคีตจิตวิทยา ได้เป็นภัณฑารักษ์จัดนิทรรศการซาวด์อาร์ตภายใต้ชื่อ "sonambiente Festival für Hören und Sehen" (โซนอัมเบียนท์ งานมหกรรมสำหรับโสตและทัศน์) ขณะที่สถาบันการศึกษาศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน (Akademie der Künste Berlin) ฉลองครบรอบ 300 ปี โดยมีสูจิบัตรแสดงประวัติชีวิตของศิลปินจำนวน 70 ท่าน รวมทั้งผลงานจากศิลปินแห่งวงการซาวด์อาร์ตที่มีชื่อเสียงในโครงการต่างๆระดับนานาชาติ (8) ในปีเดียวกันก็ปรากฏแกลเลอรี่ "singuhr hoegalerie" (นาฬิการ้อง แกลเลอรี่ฟัง) ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐอย่างเป็นทางการเปิดขึ้นใหม่ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งมีการจัดนิทรรศการมากกว่า 80 ครั้งตั้งแต่นั้นมา ผลงานที่จัดแสดงจะมีทั้งผลงานซาวด์ออบเจ็คท์ (Sound object) ประติมากรรมเชิงจลนศิลป์ (Kinetic sculpture) และผลงานประเภทซาวด์สเปส (Sound space) รวมทั้งศิลปะการแสดงโสตและทัศน์ (9) ในทำนองเดียวกัน จากปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ. 2010 ก็มีการเปิดแกลเลอรี "t-u-b-e" แห่งเมืองมิวนิค ไว้สำหรับแสดงผลงานประเภทเรดิโอโฟนอาร์ต (Radiophone Art) เสียงและการจัดวางเชิงเพอร์ฟอร์แมนซ์ (Installation and Audio Performance) (10)

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 เป็นต้นมาก็จะมีรางวัล "Deutscher Klangkunstpreis" (รางวัลซาวด์อาร์ตแห่งเยอรมนี) (11) ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดตั้งขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปีโดยหอศิลป์ "Skulpturenmuseum Glaskasten" (ประติมากรรมหอศิลป์กลาสคัสเทน) แห่งเมืองมาร์ล (Marl) ซึงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เชี่ยว ชาญทางประติมากรรมแห่งยุคโมเดิร์นคลาสสิก และมีเดียอาร์ต ผลงานที่ได้รับรางวัลรวมทั้งผลงานที่ได้รับการคัดเลือกแสดงในหอศิลป์นี้ จะนำมาแสดงใน "อาร์ต โคโลญ" (Art Cologne) แห่งเมืองโคโลญซึ่งเป็นงานมหกรรมศิลปะที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ อีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 2004 ก็มีการจัดแสดงผลงานซาวด์อาร์ตภายใต้สโลแกน "เสียงในพื้นที่-พื้นที่แห่งเสียง จากมุมมองแห่งซาวด์อาร์ตนานาชาติ" โดยสถาบันศึกษา "Kunsthochschule für Medien" (มหาวิทยาลัยศิลปะแนวสื่อ) หรือ KHM แห่งเมืองโคโลญเป็นระยะเวลากว่าสามอาทิตย์ อันมีการจัดประชุมสัมมนา นิทรรศการและคอนเสิร์ตอย่างหลาก หลาย รวมทั้งมีการจัดพิมพ์หนังสือบันทึกข้อมูลต่างๆ ของกิจกรรมในปี ค.ศ. 2010 เช่นกัน (12) ในปี ค.ศ. 2006 "Akademie der Künste Berlin" แห่งกรุงเบอร์ลิน ก็ได้จัดแสดงนิทรรศการ "sonambiente" เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้าย แต่คราวนี้เพิ่มชื่อย่อย (subtitle) ด้วยว่า "klang kunst - sound art" (ศิลปะที่ใช้เสียง-ซาวด์อาร์ต) ซึ่งแสดงผลงาน รวมทั้งโครงการของศิลปินและกลุ่มศิลปินนานาชาติจากทุกมุมเมืองในกรุงเบอร์ลินเป็นจำนวนกว่า 60 คน และเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาซาวด์อาร์ต ร่วมแสดงในมหาวิทยาลัยศิลปะและดนตรีแห่งเยอรมนีนี้ และจัดทำสูจิบัตรที่มีความหนากว่า 400 หน้า ซึ่งจัดว่าเป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลแก่วงการศิลปะซาวด์อาร์ตได้อย่างดีจนถึงปัจจุบัน (13)

Christina Kubisch กับผลงานของเธอ Magnetic Nets ใน Toon Festival แสดงที่ Galerie de Schone Kunsten แห่งเมืองฮาร์เลม (Haarlem) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 2006

ในประเทศเยอรมนีมีมหาวิทยาลัยถึง 4 แห่งที่จัดให้มีภาควิชาเฉพาะสำหรับศึกษาซาวด์อาร์ต (ภาษาเยอรมัน "Klangkunst") จนถึงระดับปริญญาโท และเปิดโอกาสให้ศิลปินหญิงซาวด์อาร์ต คริสตีนา คูบิช (Christina Kubisch) เกิดในปีค.ศ. 1948 ที่เมืองเบรเมน (Bremen) เป็นอาจารย์สอนที่ "Hochschule der Bildenden Künste Saarbrücken" (14) (มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งซาร์บรูคเคน) ณ เมืองซาร์บรูคเคน (Saarbrücken) ในภาควิชา "Sculpture/Audio-visual art" ซึ่งเปิดสอนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 สำหรับให้การศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในรูปแบบประติมา กรรมเชิงเสียง ส่วนศิลปินเองเคยศึกษาจิตรกรรมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 ถึงค.ศ. 1968 ที่สถาบันศึกษาศิลปะแห่งเมืองสตุทท์การ์ท (Stuttgart) จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านดนตรีที่แฮมเบอร์ก (Hamburg) กราซ (Graz) และ ซูริค (Zurich) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ศิลปินได้ย้ายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยไปที่เมืองมิลาน และเข้าศึกษาการประพันธ์ดนตรีและการดนตรีอีเล็กทรอนิกส์ที่ดุริยางค์วิทยาลัยในปี ค.ศ. 1976 รวมทั้งศึกษาทางด้านอีเล็กทรอนิกส์ ณ สถาบันแห่งเทคโนโลยี (Institute of Technologie) (15)

Ulrich Eller กับผลงานประติมากรรมเสียงที่ชื่อ "เสียงสะท้อนที่เบี่ยงเบน" (Gelenkte Resonanzen) ณ มหาวิทยาลัยเฟลนส์เบอร์ก (Universität Flensburg) ในปี ค.ศ. 2010

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 อูริค เอลเลอร์ (Ulrich Eller) ได้เป็นครูสอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งบราวน์ชไวก์ (Hochschule für Bildende Künste Braunschweig) ประจำภาควิชา "Klangskulptur/ Klanginstallation" (Sound Sculpture/Sound Installation) ในรูปแบบของการศึกษาศิลปะแบบอิสระ (16) เอลเลอร์ เกิดปี ค.ศ. 1953 ที่เลเวอร์คูเซ่น (Leverkusen) และเคยศึกษาที่ "มหาวิท ยาลัยศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน" (Hochschule der Künste Berlin) จากปี ค.ศ. 1977-1983 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 เขาได้เป็นอาจารย์สอนทางด้านประติมากรรม พื้นที่ และศิลปะเชิงกิจกรรมแบบนอกกรอบ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001เป็นต้นมา สอนวิชาประติมากรรมเสียงและศิลปะเสียงประเภทจัดวาง (Sound Sculpture/Sound Installation) ที่ "Fachhochschule Hannover" (วิทยาลัย[อาชีพ]แห่งฮันโนเวอร์)

Ulrich Eller: "บันไดสู่ท้องฟ้า"(Himmelsleiter) ในปี ค.ศ. 2007 (สูงประมาณ 600 ซ.ม.) ทำด้วยโลหะ, ลำโพง 64 ตัว, สายเคเบิล, เครื่องเล่นเสียงพร้อมองค์ประกอบเสียง (Sound composition) ในนิทรรศการ พื้นที่แห่งเสียงในเฟลนส์เบอร์ก" (Klangraum Flensburg)  ในปี ค.ศ. 2007

ส่วนมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน (Universität der Künste Berlin) เพิ่งเปิดวิชาศึกษา "Sound Studies (Master of Arts)" ในระดับปริญญามหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 สำหรับผู้สนใจต้องการศึกษาต่อระดับปริญญามหาบัณฑิต (17) จะมีวิชาให้เลื่อกต่างๆ คือ ทฤษฏีและประวัติของวัฒนธรรมแห่งการฟัง, ทักษะแห่งการฟัง, การทดลองสร้างสรรค์ศิลปะจากเสียง, การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสื่อแก่โสตประสาท, ธุรกิจการสื่อสารทางโสตประสาท (Auditive Market Communication) และสถาปัตยกรรมแห่งโสตประสาท หัวหน้าภาควิชาการทดลองสร้างสรรค์ด้วยการใช้เสียงเป็นสื่อคือ ศาสตราจารย์ Sam Auinger (เกิดปี ค.ศ. 1956 ที่ Linz) นักประพันธ์ดนตรีชาวออสเตีรย ได้รับเลือกจาก "Ars Electronica" แห่งเมืองลินซ์ (Linz) ให้เป็นศิลปินดีเด่นประจำปี ค.ศ. 2011 (Featured Artist) Sam Auinger เริ่มสนใจทฤษฏีแห่งการวางองค์ประกอบ, การสร้างสรรค์ดนตรีด้วยคอมพิวเตอร์, การออกแบบเสียงและจิตวิทยาจากคลื่นเสียง และเคยทำงานประสานกับหน่วยโครงการวางผังเมืองและสถาปัตยกรรม (18)

ตั้งแต่ปลายภาคการศึกษาแห่งปีการศึกษา 2009 วิทยาลัยดุริยางค์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโยฮันเนสกูเทนเบิร์ก (Hochschule für Musik Johannes-Gutenberg-Universität) แห่งเมืองมายนซ์ (Mainz) ได้เปิดภาควิชา "องค์ประกอบศิลปะแห่งเสียง" (Sound Art Composition) ในระดับปริญญามหาบัณฑิต (19) โดยมีนักประพันธ์ดนตรีและศิลปินซาวด์อาร์ต Peter Kiefer (เกิดในปี ค.ศ. 1961 ที่ Aachen) เป็นผู้สอน ซึ่งในภาควิชานี้จะเป็นแหล่งรวบรวมแนวคิดของดนตรียุคใหม่, อิเล็กทรอนิกส์คอมโพซิชั่น (electronic composition), ซาวด์อาร์ต และ ออดีโอ-วิชวลและเรดิโอโฟนอาร์ต (Audio-visual and Radiophone Art) การเรียบเรียงเสียงดนตรีเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นคว้าหากลไกในการใช้พื้นที่และสื่อของเสียงให้สมดุลย์กัน ทั้งในผลงานที่จัดวางด้วยการใช้เสียงและจัดวางด้วยการใช้พื้นที่

ในทำนองเดียวกันกับแนวคิดของการแสดงและความเป็นไปได้ในการใช้สื่อแต่ละชนิด Kiefer เคยศึกษาวิชาการประพันธ์ดนตรีประเภทคลาสสิกที่สถาบันแห่งการศึกษาคีตศิลป์และนาฏศิลป์ ณ เมืองโคโลญ อีกทั้งเคยศึกษาทางด้านดนตรี รวมทั้งทฤษฏีแห่งการแสดงและปรัชญา ณ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองโคโลญเช่นกัน (20)

Ferdinand Försch ณ เมืองแฮมเบอร์ก (Hamburg) ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 2000 กับเครื่องดนตรีประเภทตี (percussion instrument) ที่ศิลปินสร้างขึ้นเอง

การจัดแสดงนิทรรศซาวด์อาร์ตที่ใหญ่โตมโหฬารย่อมไม่ใช่หลักประกันของการประสบความสำเร็จ การจัดแสดงผลงานประเภทนี้ในหอศิลป์ขนาดเล็กก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน และบ่อยครั้งเราจะเห็นว่ามีการจัดงานมหกรรมตามหัวเมืองเล็กๆที่ตั้งอยู่นอกศูนย์กลางศิลปะ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงนิทรรศ การในหอศิลป์ เพื่อแสดงผลงานประเภทศิลปะจัดวางเสียง (Sound Installation) ในสวนหรือสถานที่สาธารณะ รวมทั้งแสดงคอนเสิร์ตและเพอร์ฟอร์แมนซ์ เป็นต้น สาเหตุที่สาธารณชนให้ความสนใจสูงนั้นก็เป็นเพราะว่า มีการจัดแสดงซาวด์อาร์ตตามสถานที่ส่วนใหญในชุมชนของผู้มีการศึกษาสูงและมีความสนใจสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว เช่น เพลงคลาสสิก ทัศนศิลป์ กลไกของเครื่องดนตรีที่ใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีแบบใหม่ นอกจากนั้นผลงานซาวด์อาร์ตส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเล่น ซึ่งเพียงกดปุ่ม ผู้ชมก็สามารถทำให้ผลงานมีความเคลื่อนไหว ในที่นี้ผู้ชมเป็นผู้เล่นหรือขับเคลื่อนเองด้วยมือและผลงานมีการตอบสนอง เด็กเยาวชนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจต่อผลงานประเภทนี้ ซึ่งทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็มักจะสนใจกับสิ่งที่ขับเคลื่อนได้อยู่แล้ว เช่นผลงานที่โยกเยกได้ พร้อมทั้งส่งเสียงแปลกประ หลาดของศิลปินชาวเยอรมัน เฟอร์ดินันด์ เฟอร์ช (Ferdinand Försch เกิดในปี ค.ศ. 1951 ณ Bad Brückenau) ซึ่งเป็นทั้งนักแต่งเพลงและมือกลอง เขาได้จัดแสดงคอนเสิร์ตด้วยเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นเอง ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดตีและเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับขยายเสียง และนอกจากผลงานสร้างสรรค์และผลงานทางด้านดนตรีแล้ว ศิลปินยังจัดเวิร์คช็อปให้เด็กร่วมกันทดลองสร้างสรรค์ผลงานขึ้นเอง

Edmund Kieselbach: หอคอยแห่งเสียง" (Klangsäulen) กับผู้ชมซึ่งเป็นเยาวชน แสดงที่เน็คคาร์แวร์เคอ (Neckarwerke) แห่งเมืองเอสลิงเงน (Esslingen) ในปี ค.ศ. 1990, ภาพถ่ายโดย Renata Grasshoff-Kieselbach

Edmund Kieselbach กับผลงานชื่อหอคอยแห่งเสียง" (Klangsäulen) ในปี ค.ศ. 1985

Edmund Kieselbach: พื้นที่จัดวาง1" (Rauminstallation I) ในวันแห่งดนตรีโลก (Welt-Musik-Tage)  Leopold-Hösch-Museum แห่งเมือง Düren (แสดงร่วมกับ Klaus Geldmacher) ในปี ค.ศ. 1987, ภาพถ่ายโดย Renata Grasshoff-Kieselbach

ในวงการซาวด์อาร์ตจะมีทั้งศิลปินที่สร้างผลงานขนาดเล็กและผลงานขนาดใหญ่จัดวางเต็มพื้นที่ มีทั้งนักประพันธ์ดนตรี เรียบเรียงเสียงหรือแสดงกิจกรรมต่างๆ เช่น เอดมุนด์ คีเซลบัค (Edmund Kieselbach, ค.ศ. 1937-2007) ผู้เริ่มหันมาสนใจศิลปะซาวด์อาร์ตและเรียนรู้วิธีสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเองหลังจากที่เขาจบการศึกษาศิลปะที่เมืองฮันโนเวอร์ (Hannover) แล้ว ในทศวรรษ 1970 คีเซลบัคมีส่วนร่วมสร้างฉากมัลติมีเดียสำหรับการแสดงละคร และเพิ่งจะเริ่มสร้างสรรค์ผลงานประเภทจัดวางสื่อแสงและซาวด์ออบเจ็ค (Sound object)ในปี ค.ศ. 1987 ต่อมาคีเซลบัค จึงหันมาค้น คว้าการฟังเสียงของดนตรีในยุคใหม่ในบั้นปลายแห่งชีวิต อันต่างจากคริสตอฟ ชแลเกอร์ (Christof Schläger เกิดในปี ค.ศ. 1958 ที่เมือง Bytom ประเทศโปแลนด์) ศิลปินรุ่นต่อมา ซึ่งมีคนเริ่มรู้จักจากผลงานเครื่องเล่นเสียง ที่เขาใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และความดันของอากาศ (pneumatics) เป็นกลไกขับเคลื่อนความดังของเสียง และนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในผลงานศิลปะจัดวางเสียง โดยใช้คอมพิว เตอร์เป็นเครื่องประ สานเสียงเหล่านั้น ชแลเกอร์ได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1968 เข้าศึกษาวิชาเทคนิคและวิศวกรรมเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างในปี ค.ศ. 1978 ถึง ค.ศ.1982 ที่เมืองแฮร์นเน (Herne) ประเทศเยอรมนี และเพิ่งสร้างผลงานซาวด์อาร์ตเป็นชิ้นแรกเมื่อปี ค.ศ. 1984 ทั้งๆ ที่เขาเรียนรู้ศิลปะด้วยตนเอง แต่กระนั้นเขาก็เป็นศิลปินสำคัญผู้หนึ่งในวงการซาวด์อาร์ตแห่งทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 2007 เขาได้สร้างสรรค์ผลงานแบบจัดวาง "Horn Concert" ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง โดยใช้เครื่องดนตรีชนิดเป่าบรรเลงเสียงประสานกันแบบคอนเสิร์ต แสดงในนิทรรศการซาวด์อาร์ตแห่งเมืองเฟลนซ์เบอร์ก (Flensburg) อันเป็นเมืองท่าเรือเล็กๆ ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศเยอรมนี ศิลปินได้นำแตรเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ความดันของลมเป่าให้เกิดเสียงโดยอัตโนมัติมาจัดวางหลายแห่งในท่าเรือ และทำให้เมือง เฟลนซ์เบอร์กมีเสียงแตรก้องพร้อมกันทั้งท่าเรือ

Christof Schläger: Sound Forest II, ในปี ค.ศ. 2007, ภาพถ่ายโดย Georg Schläger

Christof Schläger: Horn Concert for Flensburg, ในปี ค.ศ. 2007, ตัดต่อภาพโดย Christof Schläger และ Georg Schläger

ปัจจุบันมีการสร้างสรรค์ผลงานซาวด์อาร์ตอย่างแพร่หลาย ทั้งในประเทศเยอรมนีและประเทศอื่นๆในยุโรป เช่น สเปน ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เบลเยียม ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทุกๆปีจะมีการจัดนิทรรศ การ งานเทศกาล รวมทั้งการจัดประชุมสัมมนาอยู่บ่อยครั้ง และเมื่อมองย้อนหลังดูการจัดนิทรรศการ จัดงานเทศกาลตามหอศิลป์ และการให้ข่าวสารต่างๆ จะทำให้สังเกตเห็นได้ว่า ทิศทางของการสร้างสรรค์ในระหว่างทศวรรษ 1980 และ 1990 จะมาจากศิลปินจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้อยูในวงการศิลปะ และถ้าจำไม่ผิดกอร์ดอน โมนาฮาน ก็ไม่ได้หันมาสนใจซาวด์อาร์ตในระยะ 20 ปีหลังจากปรากฏผลงานประเภทนี้ แต่เพิ่งจะเริ่มสนใจเป็นครั้งแรกหลังที่มีศิลปะประเภทนี้มานานกว่า 50 ปี ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงซาวด์อาร์ตในระยะแรก เราก็ควรจะเริ่มที่นักประพันธ์เสียง จอห์น เคจ ผู้สร้างสรรค์ "ศิลปะเสียง" โดยการทำลายเปียโนในผลงาน "Prepared Piano" เช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมเสียงและคอนเสิร์ตของกลุ่มฟลุกซุส (Fluxus) ในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 นอกจากนั้นยังมีศิลปินซาวด์อาร์ตจำนวนไม่น้อยที่เคยศึกษาศิลปะเสียงจากจอห์น เคจ อีกทั้งยังมีกิจกรรมจำนวนไม่น้อยที่สามารถเชื่อม โยงไปถึงเขาได้ ซึ่งเราจะกล่าวถึงในตอนที่สองของเรื่องนี้

(1) "ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมต้องการระบายออกให้พ้นอกเสียที นั่นคือ เรื่องเสียงแห่งยุคใหม่ (new sound) ซึ่งอะไรๆก็ดูเหมือนใหม่ไปหมด และใครๆ ก็กล่าวแต่ว่า คนนั้น คนนี้สร้างอะไรๆขึ้นมาใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งเป็นทำนองเดียวกันกับที่คุณเดินเข้าดูผลงานในพิพิธภัณฑ์ใช่ไหมครับ และความใหม่นี้เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่กันแน่ คนทั่วไปเข้าใจกันว่า ซาวด์อาร์ต (Sound Art) เพิ่งค้นพบขึ้นเมื่อสิบปีก่อนนี้เอง ทั้งๆ ที่ศิลปะชนิดนี้มีมาตั้งแต่เมื่อห้าสิบก่อนนี้แล้ว แต่ปัจจุบันพวกเขาก็ยังอ้างว่าค้นพบสิ่ง “ใหม่ๆ” ขึ้นอีก เมื่อคุณเดินเข้าชมพิพิธภัณฑ์หอศิลป์ร่วมสมัยแห่งนี้ ก็จะเห็นผลงานซาวด์อาร์ตของศิลปินรุ่นใหม่ ซึ่งมีลำโพงตั้งอยู่ใจกลางห้อง และมีขนมลูก กวาดวุ้นผลไม้ออกมากระโดดขึ้นๆลงๆในลำโพง นั่นหรือครับคือความใหม่" (ตอนหนึ่งจากคำปราศัยในวาระโอกาศการแสดงสด "Theremin in the Rain" ของ Gordon Monahan ที่กรุงเบอร์ลิน (Berlin) ณ หอศิลป์ Hamburger Bahnhof ในวันที่ 1 และ 2 ธันวาคม ค.ศ 2005 อ้างอิงจากสูจิบัตร "sonambiente berlin 2006, klang kunst, sound art" จัดทำโดย Helga de la Motte-Haber และ ผู้ประสานงานอื่นๆ รวมทั้ง Akademie der Künste, Berlin ค.ศ. 2006 รวม 286 หน้า)

(2) http://www.electric-eclectics.com/

(3) MIDI = Musical Instrument Digital Interface หรือ มิดิ (มาตรฐาน การประสานเครื่องดนตรีแบบดิจิตอล)ดูข้อมูลได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/MIDI ; องค์ประกอบของการจัดวางคือเปียโนอิเล็กทรอนิกส์ยามาฮ่า หาอ่านได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Disklavier

(4) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 ผู้เขียนบทความนี้ได้จัดแสดงผลงานจัดวาง "Airlift Piano" (1988/2006) อีกครั้งหนึ่งในนิทรรศการ "Sound Space Flensburg" (เสียงในพื้นที่แห่งเมืองเฟลนส์บูร์ก) ณ เมือง Flensburg ดูข้อมูลได้ที่ http://artpositions.blogspot.com/2011/08/klangraum-flensburg-2007.html
อัตชีวประวัติและลักษณะผลงาน ตลอดจนตัวอย่างเสียงในผลงานของกอร์ดอน โมนาฮาน ดูข้อมูลได้ที่ http://www.gordonmonahan.com/

(5) http://en.wikipedia.org/wiki/20th-century_classical_music

(6) The Kitchen, Center for video, music, dance, performance, film, and literature, http://thekitchen.org/

(7) ในปีค.ศ. 2005 มีการนำบันทึก "The Kitchen" จากงานเทศกาล "New Music, New York" 1979 โดย Musiklabel Orange Mountain Music ในรูปแบบแผ่นใสออกจำหน่าย ซึ่งสามารถหาฟังตัวอย่างได้ที่ http://www.jpc.de/jpcng/jazz/detail/-/art/From-The-Kitchen-Archives-New-Music-New-York-1979/hnum/4779968 ในปี ค.ศ. 2004 "The Kitchen" ฉลองครบรอบ 25 ปี ซึ่งมีการจัดเทศกาลอีกครั้งหนึ่งภายใต้หัวเรื่องว่า "New Sound, New York" ซึ่งมีการจัดแสดงทั้งการแสดงกิจกรรม ผลงานจัดวาง การปราศัย ผลงานรุ่นใหม่จากศิลปินซาวด์อาร์ต (Sound artist) ผลงานเหล่านั้นจะมีความเกี่ยวโยงเชิงสถาปัตยกรรม ดนตรีและทัศนศิลป์

(8) "Klangkunst" จัดพิมพ์โดย "Akademie der Künste, Berlin" สำนักพิมพ์ Prestel-Verlag, Munich, New York, 1996

(9) http://www.singuhr.de/ มีหน้าภาษาอังกฤษ

(10) http://www.t-u-b-e.de/ มีหน้าภาษาอังกฤษ

(11) http://www.klangkunstpreis.de/

(12) "Klangräume der Kunst" จัดพิมพ์โดย Peter Kiefer สำนักพิมพ์ Kehrer Verlag, Heidelberg 2010

(13) sonambiente berlin 2006, klang kunst – sound art, จัดพิมพ์โดย Helga de la Motte-Haber และ ผู้ร่วมงานอื่นๆ จาก "Akademie der Künste, Berlin" สำนักพิมพ์ Kehrer Verlag, Heidelberg 2006 สูจิบัตรและหนังสือบันทึก จัดจำหน่ายในรูปแบบแผ่นใสทั้ง CD และ DVD

(14) http://www.hbksaar.de/1064.html  (ภาษาเยอรมันเท่านั้น)

(15) http://www.christinakubisch.de/, มีหน้าภาษาอังกฤษ

(16) http://fk1.hbk-bs.de/index.php?id=11 (ภาษาเยอรมันเท่านั้น)

(17) http://www.udk-berlin.de/sites/soundstudies/content/index_eng.html (ภาษาอังกฤษ)

(18) http://www.samauinger.de/

(19) http://www.musik.uni-mainz.de/1622_DEU_HTML.php (ภาษาเยอรมันเท่านั้น)

(20) http://www.peter-kiefer.de/ (ภาษาเยอรมันเท่านั้น)


KLANGKUNST I

Gordon Monahan (*1956 Kingston/Canada), einer der arriviertesten Künstler der internationalen Klangkunst-Szene, sagte 2005 anlässlich einer Performance in Berlin: „There’s something I’ve been meaning to get off my chest - new sounds - new this, new that. Everyone’s talking about Oh, this person’s doing something new, that’s never been done before. Like, you go to these museums, you know? And, when did it start? About ten years ago they discovered sound art? Uh, sound art has been around for at least fifty years, and yet, now they’ve dicovered something new. So you go to these contemporary art museums, and you walk in, and there’s some new artist doing sound art, so there’s a speaker in the middle of the room, you know, and there are jelly beans bouncing up and down in the speaker, and this is supposed to be new?“ (1)

Monahan begann seine musikalische Karriere zwischen 1968 und 1973, als er als Rockmusiker mit verschiedenen Bands in Ottawa/Kanada auftrat. Von 1974 bis 1976 studierte er Physik, von 1976 bis 1989 Klavier und Komposition an der Mount Allison University in Sackville, New Brunswick. Seit 1978 entwickelte er multimediale Klanginstallationen und Performances unter anderem mit aufgehängten, kreisenden Lautsprechern, die sich um den Performer herum bewegten und die live modulierte Klänge an den Raum abgaben (Speaker swinging, 1981). Er machte Videos, entwarf kinetische Maschinenskulpturen und experimentierte mit dem Klavier. Von 1981 bis 1983 studierte er bei dem Komponisten John Cage. Seit den 1990er Jahren lebt und arbeitet er außer in Kanada auch in Berlin. Er ist Direktor von Electric Eclectics, einem Festival für experimentelle Musik und Klangkunst, das jeden Sommer in der Nähe seines Wohnortes Meaford/Ontario stattfindet. (2)

Gordon Monahan: Piano Airlift, 1988/2006, Video still, erstmals gezeigt in der Kunsthalle Krems, Krems/Österreich, Oktober 2006

1988 ließ er anlässlich des Klangkunst-Symposiums in St. John’s auf Neufundland ein Klavier auf den Gipfel von Gibbet’s Hill oberhalb der Hafenstadt transportieren. Das Instrument diente als Klangverstärker für lange Klaviersaiten, die über die Klippen des Berges gespannt wurden. Die Saiten wurden vom Wind in Schwingungen versetzt und zu lauten Klängen angeregt, ein Prinzip, das als "Äolsharfe" bereits seit der griechischen Antike bekannt ist. Der Transport des Klaviers durch die Luft war eine Kunst-Aktion, ebenso wie der Abbau der Installation zwei Wochen später, als das Klavier über die Klippen geworfen wurde und in tausend Stücke zerschlug. 2006 konfrontierte Monahan in seiner Installation "Piano Airlift" (1988/2006) in der Kunsthalle von Krems/Österreich ein Video dieser Aktion mit einem selbstspielenden elektronisch gesteuerten Klavier (MIDI-player Piano), (3) von dem Monahan’s eigene Klangkomposition zu den Bildern des sonst stummen Videos zu hören war. (4)

Gordon Monahan: Piano Airlift, 1988/2007, Installation für Disklavier und Video-Projektion, Ausstellung Klangraum Flensburg, Museumsberg Flensburg, 2007

Klangkunst wird erst seit Beginn der 1980er Jahre als eigenständige Kunstgattung wahrgenommen, ohne dass sich zu diesem Zeitpunkt schon ein eigener Begriff dafür herausgebildet hätte. Ein Festival für Neue Musik, das 1979 vom New Yorker Zentrum für experimentelle Kunst "The Kitchen" (6) unter dem Motto "New Music, New York" veranstaltet wurde, dokumentierte bereits neben eher klassischen Konzertstücken eine Anzahl von Klangperformances unter anderem von Garret List, Gordon Mumma, Pauline Oliveros, Charlie Morrow, Tony Conrad und Charlemagne Palestine, die heute vom reinen Hörerlebnis her mühelos der Klangkunst zugeordnet werden würden. (7) Im selben Jahr gab es unter dem Titel "Sound" im Institute of Contemporary Art in Los Angeles die erste Ausstellung, in der Klanginstallationen, vom Klang erfüllte Räume, Klangskulpturen und neu entwickelte Instrumente gezeigt wurden. 1983 wurde in St. John’s auf Neufundland das erste Sound-Symposium abgehalten. Erst 1984 etablierte sich der Begriff "Sound Art" mit einer gleichnamigen Ausstellung, die der amerikanische Komponist William Hellermann für das Sculpture Center New York kuratiert hatte.

In Deutschland wird seitdem der Begriff "Klangkunst" als direkte Übersetzung des englischen "Sound art" verwendet, im Französischen und Spanischen sagt man "Art sonore" bzw. "Arte sonoro". In den meisten anderen Sprachen wird das englische "Sound art" als Fremdwort benutzt und in die eigenen Schriftzeichen übertragen. Als Klangkunst bezeichnet man Werke der modernen Kunst, also Objekte und Skulpturen, Installationen, Videos, Computer-Kunst, Aktionen und Performances, bei denen der Anteil des Erlebbaren zu gleichen Teilen dem Sehen und dem Hören, also Auge und Ohr zuzuordnen ist und bei denen der Klang genauso wie alle anderen Werkstoffe des Kunstwerks als geformtes und gestaltetes Material verwendet wird.

Der Klang, also die hörbaren Anteile des Kunstwerks, können menschliche Laute oder bearbeitete Teile der menschlichen Sprache sein, bearbeitetes musikalisches Material, natürliche oder Alltagsgeräusche, der Klang von Instrumenten, Materialien, Maschinenteilen oder elektronischen Elementen und Systemen sowie mechanisch oder elektronisch erzeugte Rhythmen. Bei begehbaren Räumen, Architekturen oder auf Straßen und Plätzen, in denen Klänge installiert sind, spricht man von "Klangräumen". Auch neu erfundene Instrumente, die wie Skulpturen einen hohen visuellen Anteil haben und die maschinell, elektronisch, von einem Performer oder auch vom Publikum bespielt werden können, werden zur Klangkunst hinzugezählt. Die Aufführungen werden als Klangperformance oder Klangkonzert bezeichnet. Werke der Klangkunst werden heute üblicherweise der bildenden Kunst zugeordnet und in Ausstellungen gezeigt. Ebenso häufig sind sie aber auch auf Festivals für neue und experimentelle Musik zu erleben.

Seit Mitte der 1980er Jahre entstand im deutschsprachigen Raum und in Mitteleuropa eine vielfältige Klangkunst-Szene, in der zahlreiche Künstler im Bereich zwischen Akustischem und Visuellem arbeiteten und neben dem Konzert- und Ausstellungsbetrieb vor allem Klangskulpturen und Klanginstallationen zu einer eigenständigen, vielfältigen Kunstgattung entwickelten. 1985 zeigte die Städtische Galerie in Würzburg eine erste Ausstellung unter dem Thema "Klangskulpturen '85". 1985, '86 und '88 fanden Audio-Art-Symposien in Stuttgart, Hassel/Belgien und Linz/Österreich statt. Das seit 1979 jährlich in Linz/Österreich stattfindende Festival "Ars Electronica" stand 1987 unter dem Thema "Der freie Klang". 1990 öffneten sich die "Donaueschinger Musiktage", das weltweit älteste und berühmteste Festival für zeitgenössische Musik, den Klangskulpturen und Klanginstallationen mit Werken von Rolf Julius, Takehisa Kosugi, Christina Kubisch, Bill Fontana und Sabine Schäfer. 1994 fand in Maastricht/Niederlande an historischen Plätzen der Stadt das Festival "Multiple Sounds" statt, 1995 im Stadtraum von Hannover das Festival "SoundArt '95".

In Deutschland wurde die Klangkunst seit Mitte der 1990er Jahre durch große Überblicks-Ausstellungen mit begleitenden Publikationen, die Gründung öffentlicher Galerien und die Spezialisierung einzelner Museen, die Vergabe von Preisen und die Einrichtung von Studiengängen gezielt öffentlich gefördert. 1996 kuratierte die Musikpsychologin und Musikwissenschaftlerin Helga de la Motte-Haber im Rahmen der 300-Jahr-Feier der Akademie der Künste in Berlin die erste umfassende Ausstellung zur Klangkunst unter dem Titel "sonambiente - Festival für Hören und Sehen", zu der ein Handbuch mit rund siebzig Biographien und Werken internationaler Klangkünstler und Projektgruppen erschien. (8) Im selben Jahr wurde in Berlin die öffentlich geförderte "singuhr hoergalerie" gegründet, die seitdem mehr als achtzig Ausstellungen von Klangobjekten, kinetischen Skulpturen, reinen klingenden Räumen und audiovisuellen Inszenierungen zeigte. (9) Von 2000 bis 2010 bestand in München unter dem Namen "t-u-b-e" eine öffentliche Galerie für radiophone Kunst, Installationen und Audio-Performances. (10)

Seit 2002 wird in dem auf Skulpturen der klassischen Moderne und Medienkunst spezialisierten "Skulpturenmuseum Glaskasten" in Marl alle zwei Jahre der "Deutsche Klangkunstpreis" verliehen. (11) Die dort gezeigte Ausstellung der Nominierten und der Preisträger ist auch während der international bekannten Kunstmesse "Art Cologne" in Köln zu sehen. 2004 veranstaltete die Kunsthochschule für Medien (KHM) in Köln über drei Wochen das Festival "Klangraum - Raumklang, Aspekte internationaler Klangkunst", zu dem ein Symposium, eine Ausstellung und zahlreiche Konzerte gehörten und über das 2010 ein umfangreiches Begleitbuch erschien. (12) 2006 zeigte die Akademie der Künste in Berlin die zweite und vorerst letzte Ausstellung mit dem Titel "sonambiente", diesmal mit dem Untertitel "klang kunst - sound art", in der an zahlreichen Orten der deutschen Hauptstadt Werke von rund 60 internationalen Künstlern und Projektgruppen und erstmals Arbeiten von Studenten der Klangkunst-Studiengänge an deutschen Kunst- und Musikhochschulen gezeigt wurden. Der 400 Seiten starke Katalog gilt heute ebenfalls als Handbuch der Klangkunst-Szene. (13)

Christina Kubisch mit ihrem Werk Magnetic Nets, )toon) Festival, Galerie de Schone Kunsten, Haarlem/Niederlande, 2006

An vier deutschen Hochschulen kann man heute einen Master-Studiengang "Klangkunst" studieren. Seit 1994 ist dies an der Hochschule der Bildenden Künste Saar (14) in Saarbrücken bei der Klangkünstlerin Christina Kubisch (*1948 Bremen) möglich, die dort eine Professur für „Plastik/Audiovisuelle Kunst“ vertritt. Kubisch selbst studierte 1967-68 Malerei an der Akademie in Stuttgart, 1969-72 Musik in Hamburg und Graz und Zürich (Zurich). 1974 übersiedelte sie nach Mailand und studierte dort bis 1976 Komposition und Elektronische Musik am Konservatorium sowie 1980-81 Elektronik am Technischen Institut. (15)

Ulrich Eller mit seiner Klangskulptur Gelenkte Resonanzen, Universität Flensburg, 2010

Seit 2004 unterrichtet Ulrich Eller (*1953 Leverkusen) an der Hochschule für Bildende Künste Braunschweig als Professor das Fach „Klangskulptur/Klanginstallation“ im Rahmen des Studiums Freie Kunst. (16) Eller studierte 1977-83 an der Hochschule der Künste Berlin. Seit 1994 war er Professor für Plastik, Raum und grenzüberschreitende künstlerische Inszenierung, seit 2001 Professor für Klangskulptur/Klanginstallation an der Fachhochschule Hannover.

Ulrich Eller: Himmelsleiter, 2007 (Detail, Höhe ca. 600 cm), Stahl, 64 Lautsprecher, Abspieltechnik, Kabel, Geräuschkomposition, Ausstellung Klangraum Flensburg, 2007

Seit 2004 kann man an der Universität der Künste Berlin den Aufbau-Studiengang „Sound Studies (Master of Arts)“ studieren. (17) Wählbare Schwerpunkte sind: Theorie und Geschichte auditiver Kultur, Kompetenz des Hörens, experimentelle Klanggestaltung, auditive Mediengestaltung, auditive Markenkommunikation und auditive Architektur. Leiter des Fachbereichs Experimentelle Klanggestaltung ist Professor Sam Auinger (*1956 Linz), der 2011 zum "Featured Artist" der "Ars Electronica" in Linz gewählt wurde. Der Komponist und Klangkünstler beschäftigt sich seit den frühen achtziger Jahren mit Fragen der Komposition, der Computermusik, des Sounddesigns und der Psychoakustik und arbeitet auch mit Stadtplanern und Architekten zusammen. (18)

Seit dem Wintersemester 2009/10 ist es an der Hochschule für Musik der Johannes-Gutenberg-Universität in Mainz möglich, einen Master-Abschluss im Fach "Klangkunst-Komposition" zu erwerben. (19) Der Studiengang bei dem Komponisten und Klangkünstler Peter Kiefer (*1961 Aachen) vereinigt Strömungen der Neuen Musik, der elektronischen Komposition, der Klangkunst, der audiovisuellen und der radiophonen Kunst. Kompositorische Ansätze werden mit dem Schwerpunkt auf räumlichen und intermediären Strategien erforscht, Raum- und Klanginstallationen ebenso wie performative Konzepte und mediale Verwirklichungen entwickelt. Kiefer selbst studierte Komposition und klassisches Schlagwerk an der Hochschule für Musik und Tanz Köln sowie Musik-, Theaterwissenschaft und Philosophie an der Universität Köln. (20)

Ferdinand Försch, Hamburg, mit selbst gebauten Schlaginstrumenten, 2000

Nicht erst seit den großen Ausstellungen gilt die Klangkunst auch bei Kuratoren kleinerer Museen als sicherer Garant für einen Publikumserfolg. Häufig werden in kleinen Städten, die abseits der großen Kunstzentren liegen, Festivals veranstaltet, die aus einer Ausstellung in einem Museum, Klanginstallationen in Parks und auf Plätzen sowie Konzerten und Performances bestehen. Das Interesse beim Publikum ist offenbar deshalb so hoch, weil die Klangkunst gleich mehrere Interessengebiete des gebildeten Bürgertums anspricht: die klassische Musik, die bildende Kunst, die Funktion von Musikinstrumenten ebenso wie von moderner Technik und Elektronik. Werke der Klangkunst sind häufig interaktiv, das heißt sie können durch Knopfdruck in Bewegung gesetzt, vom Besucher beeinflusst oder manuell bespielt werden. Sie sind daher auch bei Kindern beliebt. Kinder ebenso wie Erwachsene sind fasziniert von sich bewegenden, ratternden und tutenden Maschinen, die merkwürdige Klänge hervorbringen oder von Künstlern wie dem Komponisten und Schlagzeuger Ferdinand Försch (*1951 Bad Brückenau), der auf selbst gebauten und elektronisch verstärkten Schlaginstrumenten Konzerte gibt und sich neben seiner künstlerischen und musikalischen Arbeit auch auf Workshops mit Kindern spezialisiert hat.

Edmund Kieselbach: Klangsäulen mit Kindern aus dem Publikum, Neckarwerke Esslingen, 1990, Foto: Renata Grasshoff-Kieselbach

Edmund Kieselbach mit seiner Arbeit Klangsäulen, 1985

Edmund Kieselbach: Rauminstallation I, 1987, Welt-Musik-Tage, Leopold-Hösch-Museum, Düren (zusammen mit Klaus Geldmacher), Foto: Renata Grasshoff-Kieselbach

Zahlreiche Künstler produzieren sowohl kleinere Klangobjekte als auch große raumfüllende Installationen, komponieren und machen Performances. Edmund Kieselbach (1937-2007) beispielsweise, der sich erst nach seinem Kunststudium in Hannover autodidaktisch mit Klangkunst beschäftigte, wirkte in den siebziger Jahren an großen Multimedia-Opern mit, entwickelte seit 1987 raumfüllende Installationen aus Licht- und Klangobjekten und beschäftigte sich in seinen letzten Lebensjahren mit der Erforschung des Hörens und mit Kompositionen neuer Musik. Der jüngere Christof Schläger (*1958 Bytom/Polen) wurde durch elektronisch und pneumatisch gesteuerte Klangmaschinen bekannt, die er zu selbst spielenden Rauminstallationen kombiniert und auf denen er computergesteuerte Konzerte veranstaltet. Schläger siedelte 1968 von Polen nach Deutschland über und studierte in Herne 1978-82 Verfahrenstechnik und Bauingenieurwesen. 1984 baute er seine erste Klangskulptur. Als einer der bedeutendsten europäischen Klangkünstler, der heute in Herne und Amsterdam lebt, ist er im Bereich der Kunst und der Musik eigentlich Autodidakt. 2007 entwickelte er für die kleine norddeutsche Hafenstadt Flensburg anlässlich einer Klangkunst-Ausstellung ein Hornkonzert, das mit seinen selbst gebauten Klangmaschinen und mit druckluftgesteuerten Schiffshörnern von mehreren Seiten des Ostseehafens aus gleichzeitig zu hören war.

Christof Schläger: Sound Forest II, 2007, Foto: Georg Schläger

Christof Schläger: Horn Concert for Flensburg, 2007, Fotomontage: Christof Schläger, Georg Schläger

Die Klangkunst-Szene in Deutschland wie auch in zahlreichen anderen Staaten Europas wie Spanien, Frankreich, Holland und Belgien ist heute außerordentlich vielfältig. Jährlich finden zahlreiche Ausstellungen, Festivals und Symposien statt. Im Rückblick scheint es, als hätte sich diese Kunstgattung in den achtziger und neunziger Jahren aus dem Bereich der Ausstellungen, Festivals, Museen und Publikationen heraus neu gebildet und nicht etwa aus dem Bereich der Kunst selbst. Erinnern wir uns, dass Gordon Monahan am Anfang nicht von zwanzig sondern von fünfzig Jahren sprach, seit es Klangkunstwerke gibt? Will man die Geschichte der Klangkunst richtig und von Anfang an erzählen, so beginnt man mit dem Komponisten John Cage, der in den 1940er Jahren Kompositionen für präpariertes Klavier (Prepared Piano) schuf, sowie den Klang-Events und Fluxus-Konzerten der fünfziger und sechziger Jahre. Bei John Cage haben einige der heutigen Klangkünstler studiert. Viele andere berufen sich auf ihn. Diese Geschichte erzählen wir im zweiten Teil des Artikels.

(1) Mitschrift aus der Performance von Gordon Monahan: "Theremin in the Rain", Berlin, Hamburger Bahnhof, 1./2.12.2005, zitiert nach: Ausstellungs-Katalog "sonambiente berlin 2006, klang kunst, sound art", hrsg. von Helga de la Motte-Haber und anderen, Akademie der Künste, Berlin 2006, S. 286

(2) http://www.electric-eclectics.com/

(3) MIDI = Musical Instrument Digital Interface, vgl. http://en.wikipedia.org/wiki/MIDI ; verwendet wird in der Installation ein Disklavier von Yamaha, vgl. http://en.wikipedia.org/wiki/Disklavier

(4) Im September 2007 wurde die Installation "Airlift Piano" (1988/2006) erneut auf der vom Autor dieses Artikels kuratierten Ausstellung "Klangraum Flensburg" in Flensburg gezeigt (http://artpositions.blogspot.com/2011/08/klangraum-flensburg-2007.html) . Biograpie, Werkbeschreibungen und Klangbeispiele von Gordon Monahan findet man auf seiner Webseite http://www.gordonmonahan.com/.

(5) entfällt

(6) The Kitchen, Center for video, music, dance, performance, film, and literature, http://thekitchen.org/

(7) 2005 gab The Kitchen Archives bei dem Musiklabel Orange Mountain Music eine CD mit Archivmaterial des Festivals "New Music, New York 1979" heraus. Zahlreiche Hörbeispiele können auf folgender Webseite abgerufen werden http://www.jpc.de/jpcng/jazz/detail/-/art/From-The-Kitchen-Archives-New-Music-New-York-1979/hnum/4779968 . 2004 feierte "The Kitchen" den 25. Jahrestag des Ereignisses mit einem weiteren Festival unter dem Motto "New Sound, New York", das mit Performances, Installationen und Gesprächsveranstaltungen neue Arbeiten von Klangkünstlern präsentierte, denen es um die Verbindung von Musik, Architektur und Bildender Kunst ging.

(8) Klangkunst, hrsg. von der Akademie der Künste, Berlin, Prestel-Verlag, München, New York 1996

(9) http://www.singuhr.de/

(10) http://www.t-u-b-e.de/

(11) http://www.klangkunstpreis.de/

(12) Klangräume der Kunst, hrsg. von Peter Kiefer, Kehrer Verlag, Heidelberg 2010

(13) sonambiente berlin 2006, klang kunst - sound art, hrsg. von Helga de la Motte-Haber und anderen im Auftrag der Akademie der Künste, Berlin, Kehrer Verlag, Heidelberg 2006. Zu allen Handbüchern und Katalogen sind auch CDs oder DVDs erschienen.

(14) http://www.hbksaar.de/1064.html

(15) http://www.christinakubisch.de/

(16) http://fk1.hbk-bs.de/index.php?id=11

(17) http://www.udk-berlin.de/sites/soundstudies/content/index_eng.html

(18) http://www.samauinger.de/

(19) http://www.musik.uni-mainz.de/1622_DEU_HTML.php

(20) http://www.peter-kiefer.de/